ประวัติความเป็นมาของสถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ
สถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ (ปัจจุบัน)  จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙  โดย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งตำรวจท่าเรือ และขอกำลังจากกรมตำรวจ จำนวน ๑๕๐ นาย ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๐ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ขอให้ ผ.๒ กก.๑ รน.(ตำรวจท่าเรือ) รักษาความสงบเรียบร้อยแก่กิจการการท่าเรือแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมห าดไทย (พล.ต.ต.เผ่า  ศรียานนท์) จึงได้มีประกาศตามข้อบังคับที่ ๒/๒๕๐๐ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ เรื่อง ให้ ผ.๒ กก.๑ รน.(ตำรวจท่าเรือ) มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของการท่าเรือไว้ดังนี้

  1. ความผิดอาญาทุกประเภทที่เกิดขึ้นอาณาบริเวณทางบกของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
  2. ความผิดคดีอาญาที่เกิดขึ้นในลำน้ำเจ้าพระยา เฉพาะอาณาเขตตั้งแต่เสาหินหลักเขต

ใกล้วัดแจงร้อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ถึงท่าหิน อ.พระประแดง จว.สมุทรปราการ และทำการสอบสวนได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก ผบช.ก. หรือผู้รักษาการแทน เฉพาะคดีและความผิดดังนี้

  1. คดีที่เกิดขึ้นบนเรือสินค้า
  2. คดีที่คนเรือสินค้าเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา
  3. ความผิดคามกฎหมาย การท่าเรือแห่งประเทศไทย
  4. ความผิดตามกฎหมายศุลกากร
  5. ความผิดตามกฎหมายการเดินเรือในน่านน้ำไทย และป้องกันเหตุเรือโดนกัน
  6. ความผิดตามกฎหมายสำรวจและห้ามกักกันข้าว
  7. ความผิดตามกฎหมายประมง
  8. ความผิดตามกฎหมายควบคุมการนำเข้าและส่งออก ซึ่งสินค้าบางอย่าง
  9. ความผิดตามกฎหมายควบคุมอุปโภคและบริโภคในภาวะคับขัน
  10. ความผิดตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง โดยร่วมกับกองตรวจคนเข้าเมือง
  11. อนึ่งกรณีความผิดอื่นใดที่เกี่ยวเนื่อง หรือเนื่องจากความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งใน ข้อ ๑

และข้อ ๒ นี้ให้ทำการสอบสวนได้
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งสวนราชการ แบ่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล จากกองบังคับการตำรวจนครบาลเหนือ กองบังคับการตำรวจนครบาลใต้ และกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี เป็นกองบังคับการตำรวจนครบาล ๑-๙ ได้กำหนดพื้นที่รับผิดชอบของ สน.ทุ่งมหาเมฆ และ สน.พระโขนงครอบคลุมเขตพื้นที่รับผิดชอบทางบกของ ผ.๒ กก.๑ รน.(ตำรวจท่าเรือ) ทำให้เขตรับผิดชอบหน่วยงานทับซ้อนกัน
ต่อมาวันที่ ๑๕ ต.ค.๒๕๔๔ ได้มีประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โอน ผ.๒ กก.๑ รน.(ตำรวจท่าเรือ) ให้เป็น สถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล ๕ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเขตรับผิดชอบของ สน. โดยไม่ให้ทับซ้อนกัน อันเป็นผลให้สถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ เป็นสถานีตำรวจนครบาลเพิ่มขึ้นใหม่ เป็น สน.ที่ ๘๘ ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมีภารกิจในเขตรับผิดชอบเช่นเดียวกับสถานีตำรวจนครบาลซึ่งมีอยู่เดิม ซึ่งกำหนดเขตอำนาจรับผิดชอบและพื้นที่การปกครองไว้แต่เฉพาะทางบกเท่านั้น จึงทำให้พื้นที่ทางน้ำตามแนวร่องน้ำลึกฝั่งกรุงเทพฯ ช่วงตั้งแต่เสาหินหลักเขตท่าเรือกรุงเทพ ใกล้วัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณ์ กรุงเทพฯ ไปจนถึงแนวหลักแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพฯกับจังหวัดสมุทรปราการ ตรงบริเวณวัดโยธินประดิษฐ์(วัดบางวัว) ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจรับผิดชอบงานด้านสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้น และเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ ได้มีประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจการรับผิดชอบ และพื้นที่การปกครองของสถานีตำรวจนครบาลบางคอแหลม ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล ๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
สภาพพื้นที่และประชากร
สภาพพื้นที่
สน.ท่าเรือ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๙ ถ.อาจณรงค์ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ มีเขตพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ทำการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งมีท่าเรือกรุงเทพและคลังสินค้าอยู่ในเขตรั้ว มีเนื้อที่ประมาณ ๒.๐ ตารางกิโลเมตร นอกนั้นเป็นแหล่งชุมชนแออัด และสถานที่ต่างๆประมาณ ๒ ตารางกิโลเมตร โดยมีเขตอำนาจรับผิดชอบและพื้นที่ปกครองดังนี้ คือ
ทิศเหนือ  เริ่มจากบริเวณขอบทางเดินเท้าด้านนอกของถนนพระราม ๔ ฟากใต้ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนรัชดาภิเษก ฟากตะวันออกไปทางทิศตะวันออก ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระราม ๔ ฟากใต้ จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอก ของถนนพระราม ๔ ฟากใต้ตรงกับคันเขื่อนฟากตะวันออก บริเวณจุดเริ่มต้นคลองหัวลำโพงไปทางทิศใต้ ตามคันเขื่อนฟากตะวันออก จนบรรจบคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเลียบไปตามคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ จนบรรจบกับริมฝั่งคลองพระโขนงฝั่งตะวันตก
ทิศตะวันออก  เริ่มจากบริเวณฝั่งคลองพระโขนงฝั่งตะวันตก บรรจบกับที่ริมฝั่งคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ เลียบไปตามริมคลองพระโขนง ฝั่งตะวันตกจนบรรจบกับแนวรั้วเขตพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เลียบไปตามเขตพื้นที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย จนบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือ
ทิศใต้  เริ่มจากบริเวณริมรั้วเขตพื้นที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (บริเวณคลองเจ๊กฝั่งตะวันตก) บรรจบกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตก เลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือ จนบรรจบกับแนวตรงจากขอบทางเท้าด้านนอกของถนน ณ ระนอง ฟากตะวันตก
ทิศตะวันตก  เริ่มจากบริเวณที่แนวตรงจากขอบทางเท้าด้านนอกของ ถนน ณ ระนอง ฟากตะวันตกบรรจบกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของ ถนน ณ ระนอง และตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของ ถนน ณ ระนอง ฟากตะวันตกเป็นแนวตรงไปทางทิศเหนือ จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของ ถนนรัชดาภิเษก ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางด้านนอกของถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระราม ๔ ฟากใต้
ประชากร
เขต สน.ท่าเรือ มีประชากรประมาณ ๙๒,๐๗๒ คน โดยแยกเป็นประชากรชายประมาณ ๕๔,๘๑๕ คน ประชากรหญิง ๕๙,๗๕๗ คน ประชากรแฝงประมาณ ๗๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  มีฐานะยากจน และเป็นชุมชนแออัด มีชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น ๒๐ ชุมชน ประกอบด้วย

    •   ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย
    •   ชุมชนวัดคลองเตยใน ๑
    •   ชุมชนวัดคลองเตยใน ๒
    •   ชุมชนวัดคลองเตยใน ๓
    •   ชุมชนร่มเกล้า
    •   ชุมชนหัวโค้ง
    •   ชุมชนน้องใหม่
    •   ชุมชนพัฒนาใหม่
    •   ชุมชนริมคลองวัดสะพาน
    •   ชุมชนแฟลต ๑-๑๐
    • ชุมชนแฟลต ๑๑-๑๘
    • ชุมชนแฟลต ๑๙-๒๒
    • ชุมชนล็อค ๑-๒-๓
    • ชุมชนล็อค ๔-๕-๖
    • ชุมชน ๗๐ ไร่
    •      ชุมชนโรงหมู
    • ชุมชนริมคลองวัดสะพาน
    • ชุมชนแฟลต  ๒๓-๒๔
    • ชุมชนข้างโรงเรียนวัดสะพาน
    •      ชุมชนสวนอ้อย